
การวินิจฉัยว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไม่ ดูได้จาก เกณฑ์ 3 ข้อต่อไปนี้
1. มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในคนปกติ หรือต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม ต่อเดชิลิตรในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งควรรีบแกไข้เพื่อป้องกันไม่ให้ตกอยู่ในภาวะร้ายแรงฉุกเฉิน
2. มีอาการที่เป็นผลจากภาวะน้ำตาลในเลือดตํ่า ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หวิวๆ เหงื่อออก หิว
- อาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น เซื่องซึม หลงลืม สับสน
3. อาการต่างๆ หายไป หรือรู้สึกดีขึ้นเมื่อร่างกายได้รับน้ำตาล

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ได้แก่
- ปฏิบัติตามแผนการรักษาตามที่แพทย์ได้แนะนำไว้อย่างระมัดระวัง ทั้งการรับประทานยา การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
- ตรวจสอบปริมาณยารักษาเบาหวานและอินซูลินอย่างรอบคอบ
- หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง
- หมั่นตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอตามที่แพทย์แนะนำ
- พกสายรัดข้อหรือบัตรประจำตัวที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน
- บางรายแพทย์อาจแนะนำให้ติดเครื่องวัดระดับน้ำตาลในร่างกาย (Continuous Glucose Monitor: CGM) โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำโดยที่ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ซึ่งเครื่องวัดนี้จะถูกติดตั้งไว้ใต้ผิวหนัง และเครื่องจะส่งสัญญาณเตือนหากระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำกว่าปกติ
- ควรพกคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวไว้กับตัว เช่น น้ำผลไม้ หรือกลูโคสแบบเม็ด ซึ่งจะช่วยรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่อาการจะแย่ลง